- การพยากรณ์อากาศสำหรับบริเวณเขตร้อน (Tropics) เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความท้าทายเนื่องจากหยาดน้ำฟ้า (Precipitation) ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยการพาความร้อน (Convection)
- เมฆแบบพาความร้อน (Convective Cloud) สามารถพัฒนาขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมง มีขนาดในแนวนอนที่เล็ก และเปลี่ยนแปลงความรุนแรงอย่างฉับพลัน ดังนั้น การพยากรณ์อากาศในเขตร้อนให้แม่นยำจึงยากกว่าการพยากรณ์ในบริเวณละติจูดกลาง โดยที่เมฆส่วนใหญ่ในบริเวณดังกล่าวเป็นแบบแผ่น (Stratiform) เมฆแบบแผ่นโดยปกติแล้วจะแผ่กระจายครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่และมีความเสถียรกว่า
- CPS WEATHER เป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถให้ผลการพยากรณ์อากาศความละเอียดสูงสำหรับเขตร้อน สามารถระบุตำแหน่งและเวลาที่ฝนจะตกได้
- แอพมือถือ ThailandRain ของผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CPS WEATHER เป็นครั้งแรกของโลกที่ให้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้าอย่างละเอียดและแม่นยำสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประมาณค่าโดยใช้การสังเกตจากดาวเทียมจำนวน 10 ดวง
- อัลกอริทึม AMP (AMSU MIT Precipitation retrieval algorithm) ของผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CPS WEATHER เป็นอัลกอริทึมแรกของโลกที่ประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าได้อย่างแม่นยำครอบคลุมทั่วโลก รวมถึงบริเวณแผ่นดินที่มีหิมะปกคลุมและทะเลน้ำแข็ง
- เอกลักษณ์ของ CPS WEATHER สามารถพิสูจน์ได้จาก
- รางวัลผลงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นหลายรางวัล ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ
- ผลการพยากรณ์อากาศและข้อมูลฝนของ CPS WEATHER มีผู้ใช้งานจริงแล้วมากกว่า 400,000 คน
- เพจ Facebook ของผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CPS WEATHER มีคนติดตาม ~250,000 คน คนถูกใจ ~242,000 คน ได้คะแนนจากผู้ใช้งาน 4.8/5.0 และข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานเกือบทั้งหมด คือ “แม่นยำ มีความละเอียดสูง ชัดเจน และมีประโยชน์มาก”
- แอพมือถือ WMApp ของผู้ก่อตั้งและ CEO ของ CPS WEATHER มีจำนวนดาวน์โหลด ~150,000 ครั้ง และได้คะแนนจากผู้ใช้งาน 4.15/5.0